วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
หน้าแรกบทความ/เคสการทําesthetic CLในเคสที่มีfrenumเกาะสูง

การทําesthetic CLในเคสที่มีfrenumเกาะสูง

“ว่าด้วยเรื่องการทำesthetic CLในเคสที่มีfrenumเกาะสูง”

ย้อนกลับไปเบสิคว่า… Frenumที่อาจก่อให้เกิดพยาธิสภาพคือ 

-frenumที่เกาะชิดขอบเหงือกเลย หรือใกล้ขอบเหงือกจนkeratinizedเหลือน้อยมาก, 

-frenumที่เกาะสูงจนทำให้vestibuleตื้นมากๆ

-frenumที่ทำให้ขอบเหงือกขยับเมื่อคนไข้ขยับแก้ม, ขยับริมฝีปาก, หรือเมื่อเราลองtestด้วยการmold muscleดู พบว่าขอบเหงือกขยับตามไปด้วย

-frenumที่เมื่อเราลองขยับดูแล้วพบว่าเกิดสีขอบเหงือกหรือIDPที่ซีดลง (เกิดลักษณะischemiaบริเวณขอบเหงือกหรือIDP)

-frenumที่สัมพันธ์กับlocalized recession, 

-frenumที่ใหญ่มากๆจนดึงรั้งให้ริมฝีปาก/ลิ้นผิดรูปมาแนบรั้งกับfrenumชิ้นนี้,

-frenumที่ใหญ่จนขัดขวางการดูแลoral hygieneของคนไข้,

-frenumที่ใหญ่และสัมพันธ์กับการเกิดmedial diastema

รูปที่1 ตัวอย่างfrenumที่เกาะสูง และเกิดลักษณะขอบเหงือก/IDPที่มีสีซีดลงเมื่อมีการขยับกล้ามเนื้อ
รูปที่2.1 ตัวอย่างfrenumที่เกาะสูงและสัมพันธ์กับการเกิดเหงือกร่น
รูปที่2.2 ตัวอย่างfrenumที่เกาะสูงและสัมพันธ์กับการเกิดเหงือกร่น
รูปที่3 ตัวอย่างfrenumที่เกาะสูงและมีขนาดใหญ่มากจนดึงรั้งให้ริมฝีปาก/ลิ้นผิดรูปมาแนบรั้งกับfrenum รวมทั้งยังใหญ่จนขัดขวางการดูแลOHของคนไข้

โดยในกรณีการทำesthetic CLในเคสที่มีfrenumเกาะสูงนั้น ส่วนตัวผมแล้วสามารถให้การรักษาโดยวางtreatment planได้หลายทางขึ้นอยู่กับว่าfrenumเคสนั้นๆเกาะสูง(เกาะใกล้ขอบเหงือก)มากน้อยขนาดไหน 

กล่าวคือ…

กรณีที่1

ถ้าfrenumเกาะสูงใกล้ขอบเหงือกมาก แทบไม่เหลือkeratinizedเลย(<2mm) บางรายเกาะชิดขอบเหงือกเลยก็มี 

หากคุณหมอเจอเคสแบบนี้จำเป็นต้องทำfrenectomyก่อนการทำesthetic CL (แบ่งเป็น 2 stage) โดยปกติเคสCLที่ต้องมีการทำfrenectomyผมมักจะเลือกเทคนิคfrenectomyที่จะได้keratinizedเพิ่มหลังทำ เช่น เทคนิคdiamond, apically flap, FGG,… ผมจะไม่ค่อยใช้พวกเทคนิค miller, Z plasty, V Y plastyเท่าไร เพราะเทคนิคพวกนี้มันใช้หลักการเย็บflapเพื่อเปลี่ยนทิศทางของmuscleซึ่งเป็นแผลflapที่primaryหมด ซึ่งมันจะไม่ค่อยได้keratinizedขึ้นมา 

โดยระยะเวลารอhealหลังfrenectomyก่อนนัดมาesthetic CLอยู่ที่ >6-8wk

รูปที่4 ตัวอย่างเคสในกลุ่มกรณีที่1ที่มีแผนทำesthetic CLแต่มีfrenumที่ใหญ่และเกาสูงมาก ควรตัดออกก่อนการทำesthetic CL

กรณีที่2

frenumเกาะสูง โดยที่จุดเกาะห่างขอบเหงือกอย่างน้อย 2 mm และระยะkeratinizedที่เหลืออยู่นี้น้อยกว่าระยะจริงที่เราอยากจะgingivectomyออก เช่น CEJอยู่ใต้เหงือก>keratinized (พวกเคส coslet’s Cl 2)

กรณีนี้คุณหมอมี 2 ทางเลือก

1. ตัดfrenumไปก่อนเหมือนกรณีแรก รอheal 6-8wk ค่อยนัดมาทำesthetic CL

2. ทำesthetic CLไปได้เลย โดยstepที่ต้องgingivectomyให้เปลี่ยนเป็นลงintrasulcular แล้วจบด้วยการapically flapและเย็บsling sutureช่วยแทน –> หลักการเหมือนเคสesthetic CLปกติที่มีkeratinizedไม่พอ.. แล้วหลังesthetic CLไป 3 เดือนค่อยมาfrenect, บางคนที่หลังทำesthetic CLไปแล้วเหลือkeratinizedวัดจากขอบเหงือกถึงfrenum>2mm และตรวจพบว่าไม่มีลักษณะfrenumที่ก่อพยาธิสภาพดังที่กล่าวไปในตอนต้น ก็อาจจะไม่ต้องทำfrenectomyก็ได้

รูปที่5 ตัวอย่างเคสในกลุ่มกรณีที่2 โดยในขั้นตอนของการทำesthetic CL จะใช้การgingivectomyเล็กน้อย ร่วมกับการapically flapช่วย เพื่อให้ฟันยาวขึ้นและไม่เสียkeratinizedมากเกินไป

กรณีที่3

frenumที่มองผิวเผินแล้วดูเหมือนจะเกาะไม่สูงมากหรือเกาะสูงน้อยกว่า2กรณีแรก แต่เมื่อประเมินดูดีๆแล้วพบว่าหากถูกทำgingivectomyในstep esthetic CLไปแล้ว ไปๆมาๆจะกลายเป็นfrenumเกาะสูงในตอนจบไป

กรณีนี้คุณหมอมี 3 ทางเลือก

1. ตัดfrenumไปก่อนเลยเหมือนกรณีแรก รอ 6-8wk ค่อยมาทำesthetic CL

2. ทำesthetic CLได้เลยพร้อมทั้งตัดfrenumไปในvisitเดียวนี้ โดยหากคุณหมอเลือกทางนี้ แนะนำให้เลือกเทคนิคfrenectomyที่invasiveน้อย เช่น เอาLASERหรือelectrosurgeryมาช่วย, V Y plasty, Z plasty, หรือถ้าขนาดfrenumมันเล็กจริงๆก็ยังพอใช้diamond techniqueได้ ซึ่งเหตุผลที่ต้องใช้เทคนิคที่invasiveน้อยเนื่องจากกังวลว่าtraumaจากทั้งesthetic CLและfrenectomyหากมีมากเกินไปจะทำให้healingขอบเหงือกออกมาไม่ดี เช่นอาจเกิดเหงือกร่นมากกว่าที่เราต้องการได้

3. ทำCLได้เลย โดยstepที่ต้องgingivectomyให้gingivectomyแค่บางส่วนแล้วลงintrasulcularต่อ เพื่อจบด้วยการapically flapช่วย (และเย็บsling suture) –> แล้วหลังesthetic CL ค่อยประเมินการทำfrenectomyอีกที ด้วยธรรมชาติพวกเคสกรณีที่3เหล่านี้ ด้วยkeratinizedที่มันมีมากกว่ากรณีที่1,2 ทำให้หลายครั้งที่หลังCLไปแล้วอาจไม่ต้องมาfrenectomyก็ได้  อย่างไรก็ตามเช่นเคยคือการพิจารณาว่าหลังทำesthetic CLไปแล้ว frenumที่เหลืออยู่จะยังต้องตัดอยู่มั้ยให้คุณหมอประเมินสภาวะที่จะก่อพยาธิสภาพของfrenumตามเนื้อหาในส่วนแรกสุดของบทความนี้ได้เลยครับ

รูปที่6 ตัวอย่างเคสในกลุ่มกรณีที่3 โดยทำesthetic CLและfrenectomyไปในvisitเดียวกัน 

ทพ.เฉลิมพร พรมมาส
ทพ.เฉลิมพร พรมมาสhttp://www.c-prommas.com
วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็น Course Director และ วิทยากรในงานทัตกรรม ทั้ง Perio , Ortho และ Dental Impant Surgery
Advertisingspot_img

Popular posts

My favorites

I'm social

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
0ผู้ติดตามติดตาม