การ “ลองผ่าตัดครั้งแรก” ในคนไข้จริงเป็นเรื่องที่ท้าทาย และคงเครียดมากสำหรับคุณหมอทุกคน ผมคิดว่างานผ่าตัดมีส่วนที่เหมือนกับงานอุดฟันและงานฟันปลอม นั่นคือคุณควรทำในแลปให้เก่ง แล้วค่อยขยับขั้นขึ้นไปทำในคนไข้
ในการผ่าตัด เรานิยมใช้ “ขากรรไกรหมู” ในการฝึกผ่าตัด ถ้าคุณสังเกต Hands on หลายๆแห่งที่จัดก็มักจะใช้หัวหมูทั้งสิ้น รวมถึงหลักสูตรของเราที่ชื่อ “รู้ทัน รู้จริง รู้ป้องกัน และรู้รักษา ในงาน Peril-Ortho (Online and 1 day-Workshop hands-on)” ข้อดีของเจ้าขากรรไกรหมูนี้มีหลายประการ คือ ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ ทำให้ฝึกผ่าตัดง่าย ทำให้เย็บและกรอได้สะดวก แต่บาง Workshop ก็จะใช้แพะแทนในกรณีที่ต้องหลีกเลี่ยงหมูจากสาเหตุเรื่องศาสนาเป็นต้น
เวลาผมจะสอนทำ Gummy smile correction ในหัวหมู ผมจะให้คุณหมอทำบริเวณ premolar region ในขากรรไกร เพราะขากรรไกรหมูมันจะทรง V-Shape คล้ายๆพวก Class 2 และเป็น Class 2 ที่แหลมมากๆ ก็เลยทำขยับมาทาง posterior หน่อย
Step ที่ทำใน Hands on กับในคนไข้จริงก็เหมือนกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจและวางแผน ต้องตีโจทย์ให้แตกว่าเป็นเคสแบบไหน ต้องกรอ bone หรือ ไม่ต้องกรอ และกรอแค่ไหน
สรุปคือ ในขากรรไกรหมูเราจะรู้ขั้นตอน และได้ทดลองจริง แต่เวลาทำในคนไข้จริงจะมีเรื่องการ planning ที่ต้องทำให้ละเอียดร่วมด้วย ทั้งนี้ไม่ต้องกังวลนะครับในกรณีเคสแรกๆถ้าไม่มั่นใจก็เก็บข้อมูล ถ่ายรูป วัดร่องเหงือกมาก่อนให้ผมช่วยวางแผนก่อนลงมือได้เสมอครับ
ท่านใดสนใจงานอบรมอ่านต่อได้ในลิ้งค์ข้างล่างนะครับ