วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
หน้าแรกบทความ/เคสฟันโยกกับการจัดฟัน

ฟันโยกกับการจัดฟัน

Tooth mobility & Orthodontic treatment

ฟันโยกภายหลังการจัดฟัน ปกติ?หรือผิดปกติ?

แบบไหนที่ปกติ? และแบบใดที่ผิดปกติ?

ความเข้าใจเบื้องต้นเมื่อมีแรงจัดฟันกระทำต่อฟัน

โดยปกตินั้น เมื่อมีแรงจากการจัดฟันกระทำต่อฟันซี่หนึ่งๆจะเกิดการส่งถ่ายแรงดังกล่าวจาก

bracket –> ตัวฟัน –> ผ่านรากฟัน –> PDL –> alveolar bone

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการตอบสนองของboneที่เกิดขึ้นคือการresorptionในฝั่งcompressive side และในทางกลับกันคือการเกิด bone appositionในฝั่งtension side. ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการทั้งหมดจะได้ผลลัพธ์เป็นฟันเคลื่อนที่ไปในตำแหน่งใหม่ตามที่แรงจัดฟันมากระทำ โดยที่ยังมีbone supportรอบๆรากอยู่ในระดับเดียวกันกับก่อนการเคลื่อนฟันจะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตามต้องอย่าลืมว่า…ก่อนการเปลี่ยนแปลงในส่วนของboneจะเกิดขึ้นนั้น แรงจากการจัดฟันได้ส่งผ่านรากฟันมายังPDLก่อนไปถึงbone.  ในPDL spaceซึ่งเป็นที่อยู่ของPDLและvessel เมื่อแรงถูกส่งผ่านมายังorganเหล่านี้จะเกิดการหนาตัวขึ้นของPDLซึ่งเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเพื่อตอบสนองต่อแรง รวมไปถึงการเพิ่มขนาดของvessel และระดับcellular activityต่างๆในบริเวณดังกล่าว จนปรากฏลักษณะที่เราคุ้นชินให้เห็นกันในภาพถ่ายรังสีเป็น “การwidening of PDL space”

…โดยกระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆตลอดช่วงระยะเวลาที่มีการเคลื่อนของฟัน…

ด้วยธรรมชาติที่PDLมีความเป็นelasticityที่มากกว่าboneนี้เอง ทำให้เมื่อPDLหนาตัวขึ้น… PDL spaceกว้างขึ้น… ระยะห่างระหว่างrootกับboneมากขึ้น สิ่งที่สามารเกิดขึ้นตามมาได้คือ “tooth mobility(การโยกของฟัน)”

Tooth mobilityระหว่างการจัดฟันนั้นเป็นสิ่งที่หลีกหนียาก และยังไงก็คงเกิดขึ้นได้บ้างเป็นเรื่องปกติ โดยseverityจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับanatomyของPDL space(อีกนัยหนึ่งคือรูปร่างของรากฟัน) และความสูงของbone supportของฟันซี่นั้นที่มีอยู่… การโยกที่ว่านี้จะจัดว่ายังคงเป็นเรื่องปกติอยู่ ตราบใดก็ตามที่ไม่ได้มีความผิดปกติอื่นๆเข้ามาเสริม เช่น สภาวะperiodontitis, occlusal trauma, pulpal diseaseที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงรอบๆรากฟันเกิดขึ้นด้วย,..เป็นต้น

ดังนั้นการเกิดการโยกของฟันระหว่างการจัดฟันไม่ได้จัดเป็นสิ่งที่ผิดปกติซะทีเดียว tooth mobilityอาจเพิ่มขึ้นในระหว่างการจัดฟัน แต่ก็จะค่อยๆลดลงจนถึงระดับมาตรฐานภายหลังเสร็จสิ้นการจัดฟัน ตราบใดที่ไม่มีปัจจัยpathologyอื่นเสริม และตราบใดที่การเคลื่อนฟันนั้นไม่ได้พาฟันไปอยู่ในตำแหน่งที่จะเกิดtraumatic occlusionในห้วงเวลาที่นานจนเกิดโรค(Consolaro A. 2012) ซึ่งทราบหรือไม่ว่าการจบการจัดฟันด้วยpositionของฟันในตำแหน่งtraumatic occlusionนั้นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งเช่นกันที่ทำให้เมื่อจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ฟันซี่นั้นยังคงมีtooth mobilityอยู่ หรือในบางเคสอาจกลายเป็นจบด้วยการrelapseของฟันซี่นั้นเกิดขึ้น เพราะด้วยธรรมชาติของฟันที่พยายามshiftตัวไปอยู่ในตำแหน่งใหม่ที่ไม่มีการสบกระแทกแทน

Signทางคลินิกที่ทำให้ต้องสงสัยว่าตอนนี้ฟันซี่ดังกล่าวน่าจะมีtraumatic occlusionเกิดขึ้น (Hallmon WW. 1999, Consolaro A. 2012) เช่น…

– Progressive tooth mobility.

– Fremitus.- Pain or sensitiveเมื่อเคี้ยว

– การมีattritionเกิดขึ้นมาก

– การมีabfraction lesionเกิดขึ้น (โดยเฉพาะในฟันpremolar)

– การมีV-shaped gingival recession

หรือการพบลักษณะบางอย่างในภาพถ่ายรังสี เช่น…

– การหนาตัวขึ้นของ lamina dura. 

– Irregular widening of the periodontal space. 

– Radiolucent at furcation.- Vertical bone loss. 

– Bone sclerosis in the periapical region and/or interdental bone crest.

– Inflammatory root resorption.

…และยิ่งต้องระวังมากขึ้นหากพบsignต่างๆเหล่านี้ในลักษณะที่มีการprogressionมากขึ้นเรื่อยๆ…

เป็นเรื่องที่เข้าใจกันได้ว่า ในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงยากหากฟันบางซี่จะเคลื่อนไปในตำแหน่งที่มีการสบกระแทกบ้างก่อนไปอยู่ยังตำแหน่งfinal position แต่อย่างไรก็ตามหากฟันซี่นั้นๆมีsignของtraumatic occlusionที่มากขึ้น

เรื่อย ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ควรพิจารณาใช้bite planeหรือbite turboในฟันซี่อื่นๆที่แข็งแรงช่วยเพื่อraise biteขึ้นให้ฟันซี่นั้นๆพ้นจุดที่มีtraumaticไปก่อน (โดยการเลือกทำbite turboก็ควรพิจารณาเลือกฟันที่แข็งแรง และมีbone supportที่ดีด้วย) 

ดังนั้นก่อนถอดเครื่องมือจัดฟัน คุณหมอจึงควรจะตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีocclusal interferencesหลงเหลืออยู่ทั้งในstaticและfunctional excursion โดยการประเมินดังกล่าวนี้อาจเป็นเพียงการเช็คอย่างง่ายทั้งการมองดูลักษณะsignทางคลินิก, การใช้articulating paper, mobility assessment, radiographs และแม้กระทั่งหากบางสถานที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีที่สามารถทำcomputer-aided occlusal evaluation systemsได้ เป็นต้น ซึ่งหากตรวจแล้วพบว่ายังปัญหาของการสบกระแทกหลงเหลืออยู่ก็ควรทำการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเฉพาะตำแหน่งminor occlusal adjustmentไปจนถึงไม่หลงลืมการset occlusionที่เหมาะสม (เช่น static occlusion, mutual protection, canine guidance,…) ให้แก่คนไข้ด้วย

หลังจากเป้าหมายของงานจัดฟันในเคสนั้นๆสำเร็จลุล่วง รวมทั้งตรวจแน่ใจแล้วว่าไม่มีtraumatic occlusionเหลืออยู่ เมื่อนั้นจึงสามารถถอดเครื่องมือจัดฟันตามกระบวนการปกติของคุณหมอ และเข้าสู่retention phaseต่อไป โดยเครื่องมือคงสภาพฟันที่เลือกใช้ก็ควรเหมาะสมในคนไข้แต่ละรายไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของinitial malocclusionเดิม และสภาพperiodontiumที่มีอยู่ในเคสนั้นๆครับ (Saravanan R, et al. 2010)

References

1. Consolaro A. Trauma oclusal antes, durante e depois do tratamento ortodôntico: aspectos morfológicos de sua manifestação. Rev Dental Press Ortod Ortop Facial. 2008;13(6):21-4. 

2. Consolaro A. Occlusal trauma can not be compared to orthodontic movement or Occlusal trauma in orthodontic practice and V-shaped recession. Dental Press J Orthod. 2012 Nov -Dec;17(6):5-12 

3. Hallmon WW. Occlusal trauma: effect and impact on the periodontium. Ann Periodontol. 1999 Dec;4(1):102-8.

4. Saravanan R, Babu PJ, Rajakumar P. Trauma from occlusion – An orthodontist’s perspective. J Indian Soc Periodontol. 2010 Apr;14(2):144-5.

5. El-Marakby AM, et al. Noncarious Cervical Lesions as Abfraction: Etiology, Diagnosis, and Treatment Modalities of Lesions: A Review Article.Dentistry 2017, 7:6 

บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป
ทพ.เฉลิมพร พรมมาส
ทพ.เฉลิมพร พรมมาสhttp://www.c-prommas.com
วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็น Course Director และ วิทยากรในงานทัตกรรม ทั้ง Perio , Ortho และ Dental Impant Surgery
Advertisingspot_img

Popular posts

My favorites

I'm social

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
0ผู้ติดตามติดตาม