วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
หน้าแรกบทความ/เคสยาปิดแผลผ่าตัด (Periodontal dressing)

ยาปิดแผลผ่าตัด (Periodontal dressing)


Periodontal dressingคือยา/วัสดุที่ใช้ปิดแผลปริทันต์ โดยทั่วไปเรามักจะคุ้นตากันกับภาพของperiodontistใช้วัสดุกลุ่มนี้ในการปิดแผลให้กับคนไข้ไปภายหลังการทำperiodontal surgery 

…Periodontal dressingมันมีประโยชน์อย่างไร?? ทำไมต้องใช้ยาปิดแผลกันด้วย?? …

Periodontal dressingเป็นเสมือนband-aid(พลาสเตอร์ยา)ที่ใช้สำหรับปิดแผลผ่าตัดperiodontal surgeryซึ่งว่ากันตามจริงคือวิธีการดังกล่าวถูกเริ่มนำมาใช้ในทางปริทันต์ยาวนานมาก ประมาณ100ปีมาแล้วตั้งแต่สมัยperiodontal packของDr. AW Wardปีค.ศ 1923 

ถึงแม้ว่าคุณสมบัติของวัสดุในกลุ่มนี้จะไม่ได้มีผลโดยตรงกับการหายของแผล แต่เนื่องด้วยลักษณะทางกายภาพของมันที่ 

1. ช่วยstabilizedแผล/flapให้อยู่ในตำแหน่งเดิมไว้จากตอนimmediate post op. 

2. ป้องกันการirritateแผลในช่วงearly wound healing ไม่ว่าจะเกิดจากการรับประทานอาหาร, การแปรงฟัน, การบังเอิญมาโดนแผลหรือโดนปมไหมโดยไม่ได้ตั้งใจของคนไข้เองก็ตาม ซึ่งช่วงearly wound healing นี้ถือเป็นช่วงที่สำคัญมากช่วงหนึ่ง. ขอบเหงือกจะdisplaceจากที่เราเย็บไว้มั้ย?, soft tissue graftจะขยับมั้ย?, เราเย็บsecured knotได้ดีพอมั้ย ปมไหมจะคลายออกหรือไม่? ปัญหาและความกังวลใจเหล่านี้สามารถเบาบางลงไปได้ส่วนหนึ่งเมื่อเราได้ปิดdressingให้กับคนไข้ไป 

3. ลดความเจ็บปวดทั้งจากการลดการirritateจากข้อที่กล่าวมา และจากสารบางตัวที่อยู่ในdressing(เช่น eugenol)ที่ช่วยบรรเทาปวดได้

4. และที่สำคัญนั้น… สำหรับผมการที่คนไข้ไม่เห็นบาดแผลของตนเองโดยเฉพาะในช่วงแผลใหม่ๆช่วงแรก จะช่วยลดความวิตกกังวลของตัวเค้าลงได้ เพราะคนไข้บางท่านอาจจะไม่เข้าใจในprocessการหายของแผล เวลาเห็นแผลแดงๆหรือมีสี, มีรูปร่างไม่ปกติก็อาจจะเกิดความกลัวและความวิตกกังวลได้

เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวผมมีการปิดperiodontal dressingแทบจะทุกเคส(99%)ที่ทำperiodontal surgery เคสที่ไม่ปิดคือคลินิกนั้นไม่มี(หุหุหุ) และถ้ารู้จักกันโดยส่วนตัวหรือเคยคุยกับผมแล้วจะพบว่าผมแนะนำให้คุณหมอที่มาconsultแทบทุกคนปิดแผลด้วยเสมอหากคุณหมอทำได้

Periodontal dressingที่มีอยู่ปัจจุบันมีค่อนข้างหลายกลุ่ม หลักๆเราแบ่งออกตามการมีและไม่มีZinc oxide, Eugenolเป็นส่วนผสมได้เป็น 3 กลุ่ม

1.กลุ่มZinc oxide Eugenol เช่น พวก Wards wondr pak, Kirkland –Kaiser pak, Box pak

กลุ่มนี้แม้ว่าเหมือนจะมีข้อดีที่eugenolช่วยลดอาการปวดและมีฤทธิ์antisepticได้ (Zinc oxideก็มีฤทธิ์antisepticเช่นกัน) แต่ด้วยข้อเสียที่มีกลิ่นและรสชาติที่ไม่ค่อยดีนัก (เราอาจจะนึกง่ายๆกลิ่นมันคล้ายๆclove oil) รวมทั้งเวลาที่setตัวแล้วมีความแข็ง เปราะเหมือนcement และมีผิวหยาบ รวมทั้งผลจากการศึกษาที่แสดงผลhistologyก็ยังพบว่ามีinflammatory cell infiltrateมากในบริเวณแผลที่ถูกปิดไว้ ทำให้ท้ายที่สุดdressingในกลุ่มนี้จึงไม่ค่อยมีการนิยมใช้กันในปัจจุบัน

2.กลุ่ม Zinc oxide Non-Eugenol เช่น Periocare, Coe-Pak, Vac-Pac, Septo-Pac

Periodontal dressingในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่เราคุ้นชินกับมันมากกว่ากลุ่มแรก ไม่ต้องสืบก็จะทราบกันดีว่าdressingในกลุ่มZinc oxide Non-Eugenolที่ฮิตที่สุดคงหนีไม่พ้นCoe-Pak ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนผสม 2 ส่วนคือ
ส่วนแรก Base Tube: มี rosin, cellulose, natural gums, waxes, fatty acids, chlorothymol (bacteriostatic agent), zinc acetate, alcohol. 

ส่วนที่สอง Accelerator Tube: contains zinc oxide, vegetable oil, chlorothymol, magnesium oxide, silica, synthetic resin, coumarin lorothidol (a fungicide).

Mixing timeของการผสมCoe-Pakอยู่ที่ 2-3นาที ดังนั้นจึงไม่ถึงต้องรีบผสมมาก แต่ก็ไม่ควรเอ้อระเหยนานจนเกินไป, setting timeอยู่ที่15-20นาที และเมื่อสองส่วนนี้ผสมกันและsetตัว จะมีความแข็งfirm แต่ก็ยังมีความsoftและเปราะน้อยกว่าวัสดุกลุ่มzinc oxide eugenol dressings. 

ด้วยการที่วัสดุในกลุ่มนี้มีผิวสัมผัสหลังsetตัวที่smoothมากกว่ากลุ่มแรก, ไม่มีกลิ่นหรือรสที่ไม่พึงประสงค์, มีความแข็งแรงทนทาน ไม่ละลายน้ำจนกว่าเราจะมาเอามันออก (retentionของCoe-Pakขึ้นอยู่กับความสามารถของคุณหมอในการรีดวัสดุเข้าไปตามundercutต่างๆได้ดีเพียงพอ) จึงทำให้วัสดุกลุ่มนี้กลายเป็นกลุ่มที่นิยมใช้กันมากอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

3. กลุ่มNon-Zinc oxide & Non-Eugenol เช่น Mucotect, Reso-Pac, Barricaid, PeriAcryl90

วัสดุในกลุ่มนี้อาจเป็นพวกcellulose based, light-cured resin-based, cyanoacrylate-based

ยกตัวอย่างdressingในกลุ่มนี้ที่ผมได้มีโอกาสลองใช้ และเห็นมีจำหน่ายในประเทศไทย เช่น

Reso-Pac 

Reso-Pac เป็นdressingในกลุ่มcellulose based มีส่วนประกอบของmaterialคือcarboxymethyl cellulose, polyvinyl acetate, ethyl alcohol,myrrh, vaseline, polyethylenoxide resin

ลักษณะdressingกลุ่มนี้จะเป็นpaste (ความรู้สึกส่วนตัวคือมันจะรูปร่างคล้ายๆacrylicช่วงdough stage) Reso-Pacจะไม่ได้แข็งเหมือนCoe-Pak เพราะมันจะยังคงความนิ่มอยู่, Reso-Pacมีhydrophilic propertiesคือมันจะค่อยๆละลายน้ำออกไปเรื่อยๆ โดยตามproduct instructionระบุไว้ว่าระยะเวลาคงตัวของวัสดุประเภทนี้อยู่ที่30ชม. หรือประมาณ3วัน

ด้วยจุดเด่นของdressingกลุ่มนี้ที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องผสม เพราะบีบออกมาจากหลอดก็ใช้ได้เลย ใช้ง่ายไม่ติดเครื่องมือ ทำให้คุณหมอบางท่านชอบใช้ แต่อย่างไรก็ตามด้วยข้อด้อยที่ระยะเวลาการคงอยู่ของวัสดุที่ไม่นาน (30ชม.) ทำให้การนำวัสดุกลุ่มนี้ไปใช้ก็ต้องระมัดระวังในเคสที่มีช่วงcritical periodของการhealingที่นาน เช่นงานsoft tissue graftก็อาจต้องระวังหากจะนำไปใช้ หรือคุณหมออาจต้องชดเชยด้วยการนัดคนไข้มาเร็วขึ้นและมีการปิดแผลซ้ำ เพราะวัสดุกลุ่มนี้คงอยู่ได้ประมาณแค่ช่วง 3วันแรก เป็นต้น

PeriAcryl90

PeriAcryl90 เป็นdressingในกลุ่ม cyanoacrylate-based ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่ารูปร่างจะคล้ายๆกาวตราช้าง ที่เวลาออกมาจากบรรจุภัณฑ์รูปร่างเป็นของเหลว และเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือน้ำลายก็จะแข็งตัวอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะคล้ายๆเกล็ดปกคลุมแผลบริเวณนั้นไว้ การใช้งานจริงๆแล้วถือว่าง่ายมากและง่ายกว่าReso-Pacไปอีก เพราะแค่หยดอย่างเดียว ไม่ต้องปั้น

ตามproduct instructionระบุไว้ว่าระยะเวลาคงอยู่ของ PeriAcryl90อยู่ที่14 วัน แต่อย่างไรก็ตามส่วนตัวผมเองยังไม่ค่อยแน่ใจในระยะเวลาดังกล่าวสักเท่าไร เพราะคนไข้มักจะมาเล่าให้ฟังว่ามันจะลอกออกไปประมาณ3 วันหลังกลับบ้านไป ซึ่งในส่วนนี้ไม่แน่ใจว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการดื่มน้ำของกลุ่มคนไข้ผมอาจจะมีส่วนทำให้วัสดุกลุ่มนี้หลุดออกไปเร็วกว่าปกติหรือไม่

มาถึงตรงนี้คุณหมอจะพบว่าปัจจุบันนั้นperiodontal dressingมีอยู่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ได้มีแต่Coe-Pakที่เรารู้จักกันเท่านั้น การเลือกใช้วัสดุตัวใดขึ้นอยู่กับความชำนาญ, ความถนัด, ความชอบส่วนตัวของคุณหมอต่อวัสดุกลุ่มนั้นๆ ซึ่งส่วนตัวผมเองแล้ว ผมมักเลือกชนิดperiodontal dressingจากลักษณะทางกายภาพของmaterialเป็นหลัก, Dressingที่ผมใช้คือdressingที่ต้องstablizedแผล/flapให้อยู่ในตำแหน่งที่ผมต้องการได้นานพอจนผ่านช่วงcritical periodของearly wound healingแผลไปแล้ว 

…และด้วยเหตุผลส่วนตัวผมดังกล่าวนี้เอง

…จึงทำให้ท้ายสุดผมก็ยังใช้Coe-Pakในการปิดแผลเหมือนเดิม สมัยเรียนเป็นอย่างไร ตอนนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้น แม้ว่าข้อด้อยของCoe-Pakที่มีความยุ่งยากที่ต้องผสม, การmanipulateก็ไม่ง่าย, ชอบติดเครื่องมือก็ตาม ซึ่งผมมองว่าความจริงหากเราใช้วัสดุกลุ่มนี้ไปนานๆ เราจะเกิดความชำนาญขึ้นเอง ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป เหลือไว้แต่ข้อดีที่เราต้องการ…

คุณหมออยากใช้dressingในกลุ่มใดก็ได้ไม่มีผิดครับ เพียงแต่คุณหมอเข้าใจว่าใช้อะไรอยู่ และงานที่คุณหมอทำอยู่ต้องการอะไรก็เท่านั้นเองครับ ^^

Reference

  1. Bezawada N.R. et al. Periodontal dressings: A review. Santosh University Journal of Health Sciences 2020;6(1):5–9 
  2. Kadkhodazadeh M. et al. In Vitro Comparison of Biological Effects of Coe-Pak and Reso-Pac Periodontal Dressings. J Oral Maxillofac Res 2017;8(1):1-11
  3. Kale Tr. et al. Periodontal dressing: IOSR Journal of Dental and Medical Sciences 2014;13(3):94-98
บทความก่อนหน้านี้
บทความถัดไป
ทพ.เฉลิมพร พรมมาส
ทพ.เฉลิมพร พรมมาสhttp://www.c-prommas.com
วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็น Course Director และ วิทยากรในงานทัตกรรม ทั้ง Perio , Ortho และ Dental Impant Surgery
Advertisingspot_img

Popular posts

My favorites

I'm social

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
0ผู้ติดตามติดตาม