วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
หน้าแรกบทความ/เคส3 top periodontal complications ที่พบบ่อยในระหว่างการจัดฟัน

3 top periodontal complications ที่พบบ่อยในระหว่างการจัดฟัน

ธรรมชาติของการเคลื่อนฟันในทางทันตกรรมจัดฟันไม่ว่าจะเป็นแบบติดเครื่องมือ(แบบโลหะ)หรือแบบใสก็ตาม ล้วนอาศัยการส่งผ่านแรงไปยังอวัยวะปริทันต์ (..เหงือก, cementum, PDL และalveolar bone).  เพื่อให้เกิดการremodelของอวัยวะเหล่านั้นที่ได้รับแรง และส่งผลให้ฟันสามารถเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งๆไปยังบริเวณข้างเคียงได้

ซึ่งแท้จริงแล้วการremodelดังกล่าวนี้ เปรียบเสมือนการadaptationของอวัยวะปริทันต์ให้เข้ากับenvironmentใหม่ที่อยู่ล้อมรอบ/หรือที่มากระทำกับรากฟันในตำแหน่งนั้นๆ 

การadaptationเหล่านี้เกิดขึ้นในระดับcell (bone cell, PDL cell, fibroblast, …เป็นต้น) โดยการinteractionระหว่างcellเปรียบเสมือนการสื่อสารระหว่างกัน การสื่อสารต่างๆเหล่านั้นพบว่าอาศัยกลุ่มชุดproteinที่จำเพาะ ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มproteinที่เราเรียกกันว่าcytokine.  Cytokineชนิดต่างๆที่ถูกปล่อยออกมานั้นมีอิทธิพลให้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารนี้เป็นไปได้หลากหลาย เช่น การเกิดการ deposition (สร้าง), การ resorption (สบาย), homeostasis (สมดุล) เป็นต้น โดยที่ในหลายเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นปะปนกันไปแล้วแต่ปัจจัยแวดล้อมในตอนนั้นที่อาจเข้ามาผสมร่วมด้วย เช่น การinfection, การ trauma,…


Periodontal disease

เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการinfection/inflammation ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มcellและชุดcytokineที่คล้ายกันกับในเหตุการณ์ที่cellในอวัยวะปริทันต์ใช้เมื่อเกิดการตอบสนองต่อแรงในระหว่างการจัดฟัน 

ด้วยเหตุนี้เองจึงกลายเป็นประตูเชื่อมต่อกันขึ้นระหว่าง periodontal disease และ orthodontic tx…ที่งานจัดฟันในฟันซี่นั้นๆหรือในเคสหนึ่งๆจะกลายเป็นปัญหาขึ้นได้หากการเคลื่อนฟันเกิดขึ้นบนอวัยวะปริทันต์ที่มีการอักเสบ/หรือมี host ที่ susceptible ต่อโรค/หรืออาจมีปัจจัยcontributingอื่นๆมาผสม จนทำให้ชุด cytokine ที่ใช้ในการสื่อสารนี้เปลี่ยนแปลงไป จนเกิดการ resorption มากกว่า deposition

end upด้วยการมีระดับอวัยวะปริทันต์ที่ลดลง, ฟันโยกมากขึ้น และนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ในที่สุด

สภาวะ gingival recession

เหงือกและกระดูกเป็นอวัยวะที่มีความละเอียดอ่อน และทำงานสอดคล้องกัน เราพบว่าหากบริเวณนั้นมีกระดูก(buccal/lingual plate)ที่บาง เหงือกที่ปกคลุมมักจะบางและง่ายต่อการร่นมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในเคสที่มีcontributing factorต่อการร่นของเหงือกอื่นๆอีก เช่น มีวิธีการแปรงฟันที่แรง/ผิดวิธี, traumatic occlusion, infection/inflammation, para-functional habit, anatomical factorบางอย่างของรากฟันตำแหน่งนั้น,…เป็นต้น 

เมื่อลักษณะกระดูก(buccal/lingual plate)ที่มีความบางนั้นสามารถส่งผลในเกิดการร่นของเหงือกขึ้น โดยเฉพาะพวกเคสthin phenotype

ดังนั้นหากเรามีการเคลื่อนฟันไปในทิศทางที่ทำให้รูปร่างความหนาของbuccal/lingual plateของรากฟันซี่นั้นบางลงก็จะส่งผลให้เกิดการร่นของเหงือกขึ้นได้เช่นกัน การเคลื่อนฟันในทิศทางเหล่านี้ได้แก่…การผายฟันออกนอกalveolar bone housing ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องระมัดระวังให้มากๆ โดยเฉพาะในเคสที่พยายามทำการจัดฟันแบบcamouflage หรือในกลุ่มเคสที่เราพยายามฝืนlimitของรูปร่างalveolar boneในตำแหน่งนั้น “แม้ว่าเราทุกคนล้วนทราบกันว่าperiodontiumมักเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนตามฟันไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามแล้ว ในสถานการณ์จริงเราจะพบว่า มันไม่ได้เกิดแบบนั้นเสมอ หรือถ้าเกิดก็ไม่ได้ตามมา100%” 

ในทางกลับกัน…ถ้าเราเอาข้อดีของปรากฏการณ์นี้มาใช้ มันก็สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้ เพราะในเมื่อฟันที่อยู่นอกalveolar bone housingมีผลให้หงือกบาง/ร่นง่าย ดังนั้นการเคลื่อนฟันให้กลับเข้าไปอยู่ในhousingมันก็สามารถทำให้ความหนาและระดับของเหงือกบริเวณนั้นดีขึ้นได้เช่นกัน รวมทั้งการจัดฟันยังทำให้ความสัมพันธ์ของcontact pointของฟันและinterproximal boneดีขึ้น, ทำให้รูปร่างinterproximal boneดีขึ้น 

หากเรานำประโยชน์ในส่วนนี้ไปใช้ จะช่วยส่งเสริมให้prognosisของงานsoft tissue graftที่จะต้องทำนั้นดีขึ้น หนำซ้ำในบางกรณีระดับเหงือกที่ดีขึ้นนั้นอาจทำให้จบเคสด้วยวิธีnon-surgeryด้วยซ้ำไป

Gummy smile (การยิ้มเห็นเหงือก)

เกิดจากปรากฏการณ์ที่เหงือกและกระดูกนูนหนาตัวขึ้นเพื่อadaptต่อแรงที่ส่งผ่านมาจากฟัน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าperiodontal organส่วนใหญ่เป็นvital structure. ดังนั้นการเพิ่มขนาด/หรือการเพิ่มปริมาณของบางcomponentในtissueนั้นถือเป็นการปรับตัวหนึ่งเพื่อให้คงอยู่ในสภาวะแวดล้อมใหม่ได้ 

ซึ่งแท้จริงแล้วแม้ว่าสภาพในช่องปากจะเห็นการหนาตัวขึ้นของเหงือกและกระดูกอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกเคสจะมีการยิ้มแล้วเห็นเหงือกเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆร่วมด้วยอีกเช่น muscle tone, lip length, skeletal pattern,…เป็นต้น นี้สามารถส่งผลให้เกิดขึ้นทั้งในเคสที่ยิ้มเห็นเหงือก/หรือยิ้มไม่เห็นเหงือกก็ได้ 

สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจคือว่า…การหนาตัวขึ้นของเหงือกและกระดูกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากการจัดฟันโดยไม่ใช่สิ่งที่ผิดเสมอไป ยิ่งโดยเฉพาะในเคสที่ธรรมชาติเป็นthick phenotype หรือเดิมทีก็มีเหงือกและกระดูกนูนหนาตั้งแต่ก่อนจัดฟันอยู่แล้ว หรือเคสที่มีแผนในการเคลื่อนฟันในบางทิศทางที่สามารถส่งผลให้ตำแหน่งgingival marginเปลี่ยนมาอยู่บนตัวฟันมากขึ้น อย่างไรก็ตามจะเป็นผลดีหากorthodontistสามารถแจ้งคนไข้ล่วงหน้าได้ก่อนว่าเคสของเขามีโอกาสจะเกิดสิ่งเหล่านี้ รวมทั้งแจ้งแผนการรักษาเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขสภาวะนี้ไว้ก่อนเริ่มการรักษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกันระหว่างคนไข้และทพ.

รวมทั้งต้องไม่หลงลืมว่าorthodontistก็ควรระมัดระวังเรื่องแรงที่ใช้ และmechanicบางอย่างที่จะส่งผลให้เกิดside effectต่างๆเหล่านี้ด้วย

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ทพ.เฉลิมพร พรมมาส
ทพ.เฉลิมพร พรมมาสhttp://www.c-prommas.com
วุฒิบัตรเฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเป็น Course Director และ วิทยากรในงานทัตกรรม ทั้ง Perio , Ortho และ Dental Impant Surgery
Advertisingspot_img

Popular posts

My favorites

I'm social

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
0ผู้ติดตามติดตาม