ลักษณะของเหงือกที่จะยกมาพูดถึงในครั้งนี้ จัดเป็นลักษณะของเหงือกที่เรามักพบได้บ่อยในคนไข้ที่เข้ารับการจัดฟัน(โดยเฉพาะเคสที่ใช้เครื่องมือประเภทfixed appliance) แม้ว่าลักษณะเหงือกประเภทนี้จะไม่ได้เป็นรอยโรคที่รุนแรง แต่ก็เชื่อว่าคุณหมอจัดฟันหลายๆท่านอาจจะยังมีข้อสงสัยกันว่าแนวทางการรักษาสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ต้องทำอย่างไร, ต้องจบด้วยperio-surgeryทุกเคสหรือไม่ ….วันนี้เราจะมาพูดถึง “สภาวะการบวมโตของเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟัน”กัน. …ซึ่งผมคิดว่าคงไม่มีคุณหมอจัดฟันท่านใดที่ไม่เคยพบสภาวะดังกล่าวเป็นแน่แท้…
แม้ว่าclassificationของgingival enlargementนั้นจะแบ่งกลุ่มของการเกิดตามetiologyและpathogenesisออกได้เป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้ก็ตาม1 แต่สาเหตุของการเกิดenlargementในกลุ่มคนไข้จัดฟันส่วนใหญ่ จะตกอยู่ในกลุ่มที่1คือ Inflammatory enlargement แทบทั้งสิ้น
- Inflammatory enlargement
- Drug induced enlargement
- Enlargement associated with systemic diseases or conditions
- Neoplastic enlargement
- False enlargement.
Inflammatory enlargement
Inflammation หรือ ที่เรามักจะเรียกว่า “การอักเสบ” นั้น หมายถึงปฏิกิริยาตอบสนองของimmune cellต่อforeign bodyที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นbacteria, virus, organismอื่นๆ หรือแม้กระทั่งการirritation, chemicalเองเหล่านี้ก็ก็กระตุ้นกระบวนการinflammatory responseได้เช่นกัน ..…ไม่ใช่แค่การinfectionเท่านั้นที่จะทำให้เกิดinflammationได้…..
อย่างไรก็ตามสาเหตุหลักๆของการเกิดinflammationที่เหงือกนั้นมักจะมาจากbacterial infection. ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการแปรงฟันของคนไข้ที่ไม่สะอาดเพียงพอ โดยเฉพาะในเคสจัดฟันที่มีอุปกรณ์จัดฟันแบบfixed applianceด้วยแล้ว สิ่งนี้ก็ถือเป็นplaque retentive areaอย่างหนึ่งที่เอื้อให้มีการสะสมของbacteriaได้ง่าย, รวมทั้งทำให้การแปรงฟันโดยวิธีปกติของคนไข้ทำยาก ดังนั้นในเคสที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือเรื่องการดูแลoral hygiene (OH) ด้วยแล้ว ยิ่งถือเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้ร่องเหงือกในตำแหน่งนั้นสะอาดปราศจากเชื้อbacteriaได้ หนำซ้ำพบว่าในบางราย เครื่องมือortho appliance, elastomeric chainต่างๆเองก็กลับทำหน้าที่เป็นirritantหนึ่งที่ทำให้เกิดกระบวนการinflammationได้เช่นกัน
แล้วกระบวนการinflammationทำให้เกิดgingival enlargementได้อย่างไร?
เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆอาจกล่าวได้ว่า ความจริงแล้วการที่เหงือกไม่ว่าตำแหน่งfree gingivaหรือinterdental papilla (IDP)จะบวมเป็นลักษณะenlargement, round, bulbousใดๆให้เราเห็นได้นั้น mechanismภายในเนื้อเหงือกที่มันเกิดขึ้นก็คือ การมีcell/fluid intake, การมีfibrous overgrowth หรือไม่ก็ทั้งสองอย่างร่วมกัน …
การinflammationที่เกิดขึ้นเหนี่ยวนำให้เกิดการrecruit immune cellที่เกี่ยวข้องรวมทั้งvascular component จึงทำให้ลักษณะทางคลินิกที่เราตรวจพบบริเวณเหงือกนั้นเป็นการบวมแดงขึ้น (pain, swelling, red, loss of stippling)
และเมื่อการอักเสบเกิดขึ้นนานเพียงพอ เช่นพวกchronic inflammation, การexposeต่อbacteria or irritantเป็นระยะเวลานาน ร่างกายก็จะพยายามสร้างเส้นใยcollagenมากขึ้นเพื่อwall off, เพื่อต่อสู้กับสภาวะinflammationที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากการเสียสมดุลของการสร้างและสลายเส้นใยcollagenก็ตาม เมื่อนั้นก็จะเริ่มมีสภาวะfibrous overgrowthเกิดขึ้น
รายงานอื่นๆ
มีรายงานต่างๆที่กล่าวถึงสภาวะgingival enlargementที่เกิดขึ้นในคนไข้ที่จัดฟันว่ามีสาเหตุที่เป็นmultifactorial etiologies. แม้กระทั่งmechanical stressที่เกิดขึ้นจากแรงเคลื่อนฟันก็มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของcytokineบางตัว เช่น MMP-8, MMP-9ซึ่งสิ่งนี้ก็สามารถเกี่ยวข้องกับการเกิดgingival enlargementได้เช่นกัน2
สิ่งที่น่าสนใจคือจากการศึกษาของZachrisson3 พบว่าในเคสที่ใช้เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่น แม้ว่าจะมีการควบคุมOHได้ดีก็ตาม (และดีกว่ากลุ่มcontrolที่ไม่ได้จัดฟันซะด้วย) แต่ภายหลังการเริ่มจัดฟันไป1-2เดือน เหงือกในกลุ่มจัดฟันกลับเริ่มมีgingival enlargementเกิดขึ้น โดยเกิดกับinterdental papillaมากกว่าบริเวณradicular surface, เกิดในฟันหลังมากกว่าฟันหน้า (แตกต่างกับผมเล็กน้อยที่เคสส่วนใหญ่ผมมักเจอในฟันหน้ามากกว่าฟันหลัง) Zachrissonพบว่าสภาพgingival enlargementนั้นจะดีขึ้นตั้งแต่เดือนแรกภายหลังถอดเครื่องมือ และมีสภาพเทียบเท่าก่อนจัดฟันเมื่อผ่านไปแล้ว3-4เดือน
อย่างที่กล่าวไปว่าการเกิดgingival enlargementมีสาเหตุที่ค่อนข้างmultifactorial แม้กระทั่งเคสgummy smileเองที่เกิดการmodelingของเหงือกต่อแรงก็ดี หรือพวกกรณีgingival invaginationที่พบร่วมกับการenlargementของIDPจากการเกิดaccumulation of gingival tissueเนื่องจากการเคลื่อนฟันบีบอัดเข้ามา ซึ่งการenlargementเหล่านี้จัดหมวดหมู่ค่อนข้างยากว่าจะอยู่ในกลุ่มใด แต่สุดท้ายมันมักจะมีการinflammationพ่วงไปด้วยอยู่ดี ไม่ว่าจะมากหรือน้อย และไม่ว่าinflammationจะเกิดก่อนหรือเกิดหลังการบวมนี้
ลักษณะทางคลินิกของinflammatory enlargementกรณีที่อยู่ในstage cell/fluid intakeจะพบว่าเหงือกมีสีred, bluish red, loss of strippling และง่ายต่อการเกิดBOP
ในขณะที่หากอยู่ในstageที่เริ่มมีfibrosisจะเริ่มแตกต่างออกไป คือจะพบเหงือกที่มีสีpale pink, firm, ไม่ค่อยbleed, และอาจพบลักษณะของstipplingอยู่
…และดังที่กล่าวไปข้างต้น อาจพบstageที่มีทั้ง2สภาวะนี้ร่วมกันได้ด้วย ซึ่งลักษณะทางคลินิกก็จะปนๆกันไป…
แนวทางการรักษา
สภาวะเหงือกบวมเหล่านี้จะหายโดยไม่ผ่าตัดได้หรือไม่? มันขึ้นอยู่กับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นreversible stageหรือirreversible stageไปแล้ว
จากที่กล่าวมาข้างต้นด้วยความที่gingival enlargementเหล่านี้มักมีinflammationผสมร่วมด้วย ทำในแนวทางการรักษาแรกเริ่มจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การกำจัดสาเหตุของการinflammationก่อน โดยการทำscaling & root planing, การเน้นย้ำเรื่องการควบคุมOHของคนไข้ที่ดีตลอดช่วงระยะเวลาของการจัดฟัน(และหลังจากนั้นด้วย), การสำรวจหรือการเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์จัดฟันที่หลีกเลี่ยงส่วนที่จะมาirritateเหงือก
หากการบวมนั้นมาจากการinflammationที่มีcell/fluid intake จะมีความเป็นไปได้สูงที่ภายหลังการremove cause of inflammationออกไป cell/fluidก็จะoutfluxออกจนการบวมที่เห็นนั้นจะค่อยๆsubsideลงจนเป็นปกติในที่สุด ซึ่งในที่นี้ส่วนตัวผมจะอ้างอิงเวลาในการเริ่มF/Uผลการscaling & root planing+remove causalfactorพวกchain, ligatureกดเหงือกต่างๆ จนกระทั่งน่าจะประเมินsurgeryได้อยู่ที่ 3สัปดาห์-3เดือน4,5 ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่เกิดfibrous overgrowthจนมีfibrosisมากๆแล้ว เคสเหล่านี้มักจะจบด้วยการทำperio-surgery (gingivectomy and/or gingivoplasty)ร่วมด้วย
นอกจากลักษณะการ enlargementของIDP ดังที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าในเคสคนไข้บางรายที่รับreferมาจากคุณหมอจัดฟัน ยังมีลักษณะการenlargementของIDPอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากพวกinflammatory enlargementต่างๆดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยที่ลักษณะของIDPที่บวมขึ้นนั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นbulbous แต่กลับมีลักษณะลักษณะคล้ายๆnodule ซึ่งไม่involve sulcusและtip of IDP และlocalizedอยู่บริเวณ1-2ตำแหน่งในช่องปาก
โดยสังเกตพบว่ามักจะเป็นเคสที่มีฟันหน้าmissing แล้วคุณหมอพยายามใช้แรงจัดฟันเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าวแทนการจัดฟัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกมากที่ลักษณะดังกล่าวนี้กลับไม่พบบริเวณตำแหน่งช่องว่างอื่นๆเช่น บริเวณที่ถอนซี่4,5ปกติในการจัดฟัน
โดยที่ผ่านมาผมพยายามreviewในjournalหลายๆแหล่งเกี่ยวกับลักษณะเหล่านี้ แต่ตัวผมเองยังหาไม่พบการกล่าวถึงความเห็นส่วนตัวคิดว่าลักษณะของเหงือกดังกล่าวถ้าไม่ได้เกิดจากcytokineภายในก็น่าจะเกิดขึ้นจากการcompressionของsupra gingival fiberจากการเคลื่อนฟัน(หน้า)ที่อยู่ห่างกันมากๆมาเพื่อปิดช่องว่าง ซึ่งไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากการเคลื่อนด้วยแรงที่มาก, เร็ว หรือเกิดขึ้นเองตามresponseของคนไข้รายนั้นก็ตาม สิ่งเหล่านี้ส่งผลทำให้กระบวนการrearrangementของกลุ่มfiberดังกล่าวเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ จากที่ทราบกันดีว่าfiberกลุ่มนี้ใช้เวลาในการrearrangementภายหลังได้รับแรงเคลื่อนฟันที่นาน(สูงสุดถึง232วัน)6,7 ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าหากการเคลื่อนฟันเกิดขึ้นเร็วก็อาจทำให้processดังกล่าวเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์ได้…เรียนตามตรงว่าย่อหน้านี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ และผมก็ยังตอบไม่ได้ว่าทำไมเคสที่referมาถึงมีแต่บริเวณฟันหน้า หรืออาจจะเพราะเมื่อเป็นในฟันหลังคุณหมอไม่referมา..กระมัง
อย่างไรก็ตามด้วยลักษณะที่พบนี้ไม่ได้มีsign of infection, ไม่แดง, ไม่bleed, ไม่สัมพันธ์กับplaque/calculus, ไม่สัมพันธ์กับการinfection จึงทำให้แนวทางการรักษาด้วยการscaling & root planingไม่น่าเข้ามามีบทบาทให้ลักษณะดังกล่าวดีขึ้น(แต่ถึงอย่างไรก็ต้องcontrol OHทุกเคสอยู่ดีนะครับ) แนวทางการรักษาคือเมื่อคุณหมอจัดฟันปิดช่องว่างเสร็จและควบคุมOHคนไข้ได้ดีแล้ว การรักษาจะจบด้วยการทำgingivoplasty โดยภายหลังได้มีโอกาสF/Uเคสที่ผ่านๆมาประมาณ6เดือน ก็ยังไม่พบว่ามีการrecurrentเกิดขึ้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดหากคุณหมอจัดฟันทำความเข้าใจดีๆแล้วจะพบว่า การควบคุมOH, periodic scaling (+root planning) ถือเป็นแนวทางการรักษาและป้องกันโรคเบื้องต้นที่คุณหมอสามารถprovideให้กับคนไข้ได้ หากภายหลังการให้การรักษาเบื้องต้นนี้แก่คนไข้รายนั้นๆไปแล้ว < 3เดือน คุณหมอพบว่าลักษณะดังกล่าวยังคงอยู่ เมื่อนั้นperio-surgeryจะเข้ามามีบทบาทเพื่อทำให้รูปร่างของเหงือกที่นูนนั้นดี
ขึ้นได้ โดยสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากคือการที่คุณหมอสังเกตว่าเคสจัดฟันที่เราทำการรักษาอยู่นั้น เกิดสภาวะgingival enlargementที่ว่านี้หรือยัง เพราะหากคุณหมอสังเกตเห็นได้เร็วและทำการแก้ไขตั้งแต่ในstageที่ยังไม่มีการfibrosisมาก เคสเหล่านี้ก็มักจะจบด้วยวิธีnon surgicalไม่จำเป็นต้องทำgingivectomy/gingivoplastyก็ได้
จึงอยากให้แนวทางการดูแลคนไข้จัดฟันของเรา เน้นมุมมองmultidisciplinary approach ไม่ว่าคุณหมอจะทำงานร่วมกันเป็นทีม หรืออยู่ในสถานที่ที่คุณหมอต้องทำงานเหล่านี้เองก็ตามครับ^^
Ref. (คอร์สรอบใหม่เปิดให้ลงทะเบียนแล้ว คลิกที่นี่ )
- Newman MG, Takei HH, Klokkevold PR, Carranza FA, eds. (2012). Carranza’s clinical periodontology(11th ed.). St. Louis, Mo.: Elsevier/Saunders. pp. 84-96.
- P. S ̧urlin, A.-M. Rauten, D. Pirici, B. Oprea, L. Mogoanta ̆, and A. Camen, “Collagen IV and MMP-9 expression in hypertrophic gingiva during orthodontic treatment,” Romanian Journal of Morphology and Embryology, vol. 53, no. 1, pp. 161–165, 2012.
- S. Zachrisson and B. U. Zachrisson, “Gingival condition associ- ated with orthodontic treatment,” The Angle Orthodontist, vol. 42, no. 1, pp. 26–34, 1972.
- Ghangurde AA, Ganji KK, Bhongade ML, Sehdev B. Role of chemically modified tetracyclines in the management of periodontal diseases: A review. Drug Res (Stuttg) 2017;67:258-65.
- Badersten A, Nilveus R, Egelberg J. Effect of nonsurgical periodontal therapy: III. Single versus repeated instrumentation. J Clin Periodontol 1984;11:114-24.
- Skillen, W., Reitan, K., Tissue changes following rotation of teeth in the dog, AnCTle Orthodontist, 10: 140-147, 1940.
- Stubley, R.: The influence of transseptal fibers on incisor position and diastema formation, AM. J. ORTHOD. 70:645-662, 1976.